โครงการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ Virtual Field Trip
หลักการและเหตุผล
ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยมีการให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชาติรู้จักความเป็นมาของชาติของตน ยังความรักความผูกพัน ความหวงแหนในแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์ บรรพพบุรุษ และคนในอดีตได้เสียสละปกป้องแผ่นดินให้ดำรงมาตราบชั่วลูกชั่วหลานจนปัจจุบัน การรู้จักประวัติศาสตร์ของประเทศชาติจะทำให้คนหลังได้สืบทอดความเป็นเอกราชของประเทศชาติให้คงอยู่ตลอดไป ด้วยเหตุนี้จึงกำหนดให้สถานศึกษาทุกระดับให้ความสำคัญในกเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โดยให้จัดการเรียนรู้เป็นรายวิชาพื้นฐานอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เพื่อปลูกฝังเยาวชนได้ตระหนักถึงความเป็นมาของชาติไทย มีความรักความสามัคคีและภาคภูมิใจแผ่นดินไทย ในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลสูงสุดนั้นจำเป็นต้องอาศัยรูปแบบวิธีการและสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ในการนี้จึงเห็นควรพัฒนาสื่อการเรียนรู้ Virtual Field Trip สาระประวัติศาสตร์ เพื่อให้สถานศึกษานำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล ตามมาตรฐานตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สถานศึกษามีสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่มีคุณภาพและหลากหลายสอดคล้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2. เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์มีประสิทธฺภาพและสัมฤทธิ์ผล ตามมาตรฐานตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ที่กำหนดในหลักสูตร
3. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ของชาติ ให้เกิดความรัก ความผูกพัน ความหวงแหน และภาคภูมิใจในแผ่นดินไทย
เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงปริมาณ
- สื่อการเรียนรู้ Virtual Field Trip สาระประวัติศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 3 เรื่อง คือ ประวัติศาสตร์สุโขทัย ประวัติศาสตร์อยุธยา และประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
- สื่อการเรียนรู้ Virtual Field Trip สาระประวัติศาสตร์ ที่มีคุณภาพและหลากหลายสดอคล้องตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่สามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความรัก ความผุกพัน ความหวงแหน และเกิดภาคภูมิใจในแผ่นดินไทย
กำหนดการประชุม
ระหว่างวันที่ 24-27 มีนาคม 2553
งบประมาณ
งบประมาณ SP2 โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ สังคมศึกษาและประชาธิปไตย ของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
สถาบันสังคมศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา โทร. 0 2288 5742
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
สถานศึกษามีสื่อการเรียนรู้สาระประวัติศาสตร์ที่มีคุณภาพและหลากหลาย สอดคล้องตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่สามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกิดความรัก ความผูกพัน ความหวงแหน และภาคภูมิใจในความเป็นไทยและแผ่นดินไทย
- อ่าน 11219 ครั้ง